ติดต่อ

ติดต่อสอบถาม:

ที่อยู่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เลขที่ 1 ถนนอู่ทองนอก เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300

อีเมล :    grad@ssru.ac.th

เบอร์โทร : (+66)2 1601174-75

โทรสาร : (+66)2 160 1177

หลักการและเหตุผล

ท่ามกลางความท้าทายของโลกในศตวรรษที่ 21 ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ และผลกระทบจากวิกฤตสุขภาพและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประชาคมโลกได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เพื่อเป็นแนวทางร่วมในการสร้างโลกที่ยุติธรรม ปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ทุกคน การบรรลุเป้าหมายดังกล่าวไม่สามารถกระทำได้ภายใต้กรอบความรู้แบบแยกส่วน หากแต่ต้องอาศัยการบูรณาการองค์ความรู้ข้ามศาสตร์ เพื่อสร้างแนวทางใหม่ในการแก้ปัญหาและพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในมิติมนุษย์ สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี

การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 19 ภายใต้ธีม “วิถีบูรณาการสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน: องค์ความรู้เพื่ออนาคตร่วม” จึงจัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยน อภิปราย และเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับ SDGs ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับโลก โดยเปิดพื้นที่ให้กับผลงานวิชาการจากหลากหลายสาขา ทั้งในด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ การศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และบริหารธุรกิจ เพื่อร่วมกันสร้างเครือข่ายองค์ความรู้สู่อนาคตที่ยั่งยืน

การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 19 จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมความรู้และการพัฒนานวัตกรรมให้ตอบโจทย์สังคมในยุคปัจจุบัน โดยเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และร่วมสร้างวิสัยทัศน์ในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ทั้งนี้เพื่อตอบโจทย์ของบัณฑิตวิทยาลัยตัวชี้วัดที่ 4.1.2 จำนวนรายได้ที่เกิดจากการบริหารจัดการสินทรัพย์และการให้บริการของหน่วยงาน อีกด้วย


วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมให้นักวิชาการ คณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน และหน่วยงานวิจัยต่าง ๆ ได้นำเสนอผลงานวิจัยและเผยแพร่ผลงานวิชาการสู่สาธารณชนและชุมชนวิชาการ

2. เพื่อเปิดเวทีให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทั่วประเทศนำเสนอผลงานวิจัย

3. เพื่อส่งเสริมและสร้างความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาศาสตร์ต่าง ๆ ให้มีความก้าวหน้าและมุ่งสู่ความเป็นเลิศ

4. เพื่อกระตุ้นให้นักวิชาการ คณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และผู้เกี่ยวข้องได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ตลอดจนข้อคิดเห็นในการพัฒนางานวิจัยอันจะทำให้เกิดงานวิจัยที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


รูปแบบการนำเสนอ

การนำเสนอ Onsite แบบ Oral Presentation และการนำเสนอ Online แบบ Oral Presentation

1.ผู้นำเสนอจะต้องจัดทำงานนำเสนอบทความวิจัย

2.ใช้เวลานำเสนอเรื่องละไม่เกิน 10 นาที ตอบข้อซักถามไม่เกิน 5 นาที

ผู้นำเสนอจะต้องเข้าร่วมในวันซ้อมใหญ่เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนนำเสนอจริง และนำเสนอบทความในวันที่ 7 สิงหาคม 2568

คณะกรรมการจัดงาน ขอขอบคุณในความสนใจเข้าร่วมงานและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมือจากท่านเป็นอย่างดี ตลอดการจัดงานครั้งนี้เสร็จสมบูรณ์

หมายเหตุ คณะกรรมการของสงวนสิทธิ์การนำเสนอและเผยแพร่ในทุกลักษณะสำหรับผลงานที่ไม่ได้ส่งตามขั้นตอนดังกล่าว ทันตามเวลาที่กำหนดจะไม่มีการพิจารณาคืนเงินค่าสมัคร